- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 9792
ประเภทและคุณสมบัติของสมาชิก กำหนดไว้ 4 ประการ
ประเภทสมาชิก ให้กำหนดไว้ 4 ประเภทดังนี้
1. สมาชิกสามัญ
2. สมาชิกวิสามัญ
3. สมาชิกสมทบ
4. สมาชิกกิตติมศักดิ์
คุณสมบัติของสมาชิก
1. สมาชิกสามัญ หมายถึง บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่นักจิตวิทยาคลินิก
2. สมาชิกวิสามัญ หมายถึง บุคคลที่ทำงานติดต่อเกี่ยวข้องกับงานทางด้านจิตวิทยาคลินิกและสุขภาพจิต
3. สมาชิกสมทบ หมายถึง นักศึกษาที่กำลังศึกษาวิชาด้านจิตวิทยาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจนผู้ที่สนใจ
4. สมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถทำประโยชน์ทางด้านจิตวิทยาคลินิกและสุขภาพจิต ซึ่งคณะกรรมการบริหารมีมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิก
การสมัครเข้าเป็นสมาชิก
การสมัครเป็นสมาชิกสามัญ วิสามัญ และสมทบนั้น ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกสมาคมได้ที่นายทะเบียน
นายทะเบียนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการบริหารสมาคมมีมติมอบหมาย และเมื่อได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกแล้วให้ผู้สมัครชำระค่าสมาชิกได้ที่เหรัญญิก
สิทธิของสมาชิก
1. สมาชิกมีสิทธิสมัคร และได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหาร (เฉพาะสมาชิกสามัญ)
2. มีสิทธิออกเสียง 1 เสียง ในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี (เฉพาะสมาชิกสามัญ)
3. มีสิทธิเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริหารสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยหรือต่อที่ประชุมวิชาการประจำปี
4. ได้รับความช่วยเหลือจากสมาคมทางด้านวิชาการและอื่นๆ เท่าที่คณะกรรมการบริหารสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยเห็นสมควร
5. ได้รับเอกสาร หนังสือของสมาคมฯ และประดับเครื่องหมายของสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยในโอกาสอันสมควรตลอดอายุการเป็นสมาชิก
6. มีสิทธิจะขออนุญาตตรวจสอบทรัพย์สินของสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย และขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะกรรมการบริหารสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยได้ (เฉพาะสมาชิกสามัญ)
หน้าที่ของสมาชิก
สมาชิกมีหน้าที่สร้างความเข้าใจและปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับสมาคมฯ เพื่อให้การช่วยเหลือส่งเสริม และเผยแพร่กิจกรรมต่างๆของสมาคมฯ ให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก