เขียนโดย Super User
ฮิต: 64780

 

1.  ขั้นตอนและหลักเกณฑ์การสอบ License เป็นอย่างไรบ้าง

     คำตอบ     สามารถอ่านรายละเอียดจากเอกสารใน หน้านี้

 

2. ถ้าไม่ผ่านหลักสูตร internship สามารถสอบ License ได้หรือไม่

    คำตอบ       ไม่ได้  ทุกคนที่จะสอบ License ต้องผ่านหลักสูตร Internship

 

3. ผู้ที่มี License จากต่างประเทศแล้ว จำเป็นต้องสอบ License  ของประเทศไทยหรือไม่

    คำตอบ       จำเป็น   เช่นเดียวกับนักจิตวิทยาที่มี License ประเทศไทยแล้ว  เมื่อไปทำงานที่ประเทศใดก็ต้องสอบ License ประเทศของเขา

 

4. ผู้ที่จบหลักสูตรจิตวิทยาคลินิกจากต่างประเทศ สามารถสมัครหลักสูตร internship เพื่อสอบ License  ได้หรือไม่

    คำตอบ       ได้   แต่ต้องทำเรื่องเสนอคณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก พิจารณารับรองคุณสมบัติก่อนทุกราย

 

5.  ผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาอื่น สามารถสอบ License จิตวิทยาคลินิกได้หรือไม่

    คำตอบ       ไม่ได้  ยกเว้นศึกษาต่อและจบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาจิตวิทยาคลินิก

 

6. ผู้ที่จบการศึกษาสาขาจิตวิทยาคลินิก แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก จะสามารถปฏิบัติงานทางจิตวิทยาคลินิกได้หรือไม่

   คำตอบ        ได้  แต่ต้องปฏิบัติงานอยู่ภายใต้การดูแลของผู้มีใบประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก แต่ไม่มีสิทธ์เซ็นต์เอกสารใบรับรองที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย

 

7.  จำเป็นหรือไม่ที่นักจิตวิทยาแขนงอื่นๆ ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก จึงจะทำงานได้

    คำตอบ       ไม่จำเป็น  และไม่สามารถขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิกได้   เว้นแต่ศึกษาต่อสาขาจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาแขนงอื่นๆ สามารถปฏิบัติงานตามลักษณะงานที่ถูกมอบหมายจากต้นสังกัดได้ เพียงแต่การปฏิบัติงานนั้นอาจไม่ได้ถูกควบคุมหรือตรวจสอบจากองค์กรวิชาชีพ ในอนาคตข้างหน้านักจิตวิทยาแขนงอื่น ๆ  อาจดำเนินการจัดสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ   โดยใช้ พรบ.ประกอบวิชาชีพ  (กฎหมายคนละฉบับกับ พรบ.ประกอบโรคศิลปะ ที่สาขาจิตวิทยาคลินิกได้ถูกบังคับใช้ในปัจจุบัน)

 

8.  สถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิกรับรอง ปัจจุบันมีที่ไหนบ้าง

    คำตอบ       มี ระดับปริญญาตรี 7 สถาบัน // ระดับปริญญาโท 1 สถาบัน  ประกอบด้วย ….

1. สถาบันที่เปิดสอนเฉพาะระดับปริญญาตรี มี 7 สถาบันดังนี้

                   1)       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                   2)       มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                   3)       มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                   4)       มหาวิทยาลัยนเรศวร

                   5)       มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

                   6)       วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

                   7)       มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ วิทยาเขตปัตตานี

2. สถาบันที่เปิดสอนเฉพาะระดับปริญญาโท คือ มหาวิทยาลัยมหิดล (สาขาจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)

*** สถาบันที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มี 1  สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปัจจุบันหยุดรับชั่วคราวทั้ง 2 ระดับ)

 

9.  ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก สามารถสมัครเป็นสมาชิกสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยได้หรือไม่

    คำตอบ       ได้  แต่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด (ดูรายละเอียดวิธีการสมัครฯ ได้ที่เวบไซต์สมาคมฯ)

 

10. ผู้ที่สมัครสมาชิกเวบไซต์สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยแล้ว ถือว่าเป็นสมาชิกสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยหรือไม่

    คำตอบ       ไม่ใช่  จะมีสถานะเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ได้  ก็ต่อเมื่อได้สมัครสมาชิกสมาคมฯ และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ แล้วเท่านั้น

 

11.  สมาชิกสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย จำเป็นต้องต่ออายุการเป็นสมาชิกเมื่อใด

     คำตอบ      ทุก 2 ปี โดยเสียค่าบำรุงสมาคมฯ เป็นรายปี ๆ ละ 200 บาท